Skip to main content

Travel and Health Insuranceข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อประกันการเดินทางและสุขภาพ


การเข้ารับการรักษาในกรณีเกิดการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทางและพำนักในสหราชอาณาจักร
บทความโดย Aphrodite
(มีทั้งหมด 3 บทความ)

บทความที่ 2 ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อประกันการเดินทางและสุขภาพ Travel and Health Insurance
IF YOU ARE NOT COVERED BY ANY OF THE EXEMPTION CATEGORIES LISTED IN THIS LEAFLET YOU ARE STRONGLY RECOMMENDED TO ENSURE YOU HAVE ADEQUATE HEALTH INSURANCE TO COVER THE DURATION OF YOUR STAY IN THE UK.
(ที่มา Department of Health ของ National Health Service (NHS)

หากคุณต้องการเดินทางมาเที่ยวหรือมาเยี่ยมญาติที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร หรือคุณที่ต้องการให้บิดามารดาหรือญาติมาเยี่ยมเยียนที่สหราชอาณาจักร คุณควรต้องทำประกันการเดินทาง หรือ Travel Insurance ให้ครอบคลุมระยะเวลาที่คุณจะมาพำนักในสหราชอาณาจักร ซึ่งแผนประกันการเดินทาง
ประกันการเดินทางควรรับผิดชอบความเสียหายใดบ้าง การรับผิดชอบความเสียหายเรียกว่า ข้อตกลงคุ้มครอง
1.  อุบัติเหตุส่วนบุคคลในกรณีเสียชีวิต Accidental Death Benefit
2. ค่ารักษาพยาบาล Medical Expenses
3. ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน/ การส่งศพกลับประเทศ Evacuation / Repatriation   
4. การบริการความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินและช่วยเหลือการเดินทาง Medical Emergency Assistance and Service
5. การยกเลิกการเดินทาง Trip Cancelation
6. การลดจำนวนวันเดินทาง Trip Curtailment
7. ความสูญเสียหรือเสียหายของสัมภาระในการเดินทาง Loss or Damage of personal Baggage
8. ความล่าช้าของการเดินทาง Cover of Delay
9. ความสูญหายของหนังสือเดินทาง Loss of Passport
10. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก Personal Legal Liability (เช่น กรณีคุณขับรถชนหรือทำความเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นต้น) 
ประกันการเดินทางและสุขภาพ
 ข้อเสนอแนะในการเลือกแผนประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุสุขภาพและ การเดินทางต่างประเทศ
1. เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ บริษัทของไทยที่มีความน่าเชื่อถือก็อย่างเช่น ไทยวิวัฒน์ Bupha เป็นต้น
2. เลือกแผนประกันที่เหมาะกับความต้องการของคุณ
 2.1 ข้อแรกสุดจะต้องดูว่าคุณจะเดินทางไปส่วนไหนของโลก เช่น เดินทางไปทวีปยุโรป ทวีปเอเซีย ทวีปอเมริกาหรือทั่วโลก ทวีปดังกล่าวที่คุณเลือกไปนั้นมีการกำหนดอัตราข้อคุ้มครองเงินประกันหรือไม่ เช่น หากขอเชงเก้นวีซ่า จะมีการกำหนด เงินคุ้มครองอยู่ที่อย่างต่ำ 2 ล้านบาท (ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องจ่าย  2 ล้าน แต่หมายความว่า หากเสียชีวิตหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน เงิน 2 ล้านจะเป็นทุนในการชำระค่ารักษาพยาบาลหรือทำศพ เป็นต้น) เรื่องเงินคุ้มครองจะดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองหรือรูปแบบการคุ้มครองที่คุณเลือก
             2.2 ไปพำนักอยู่นานเท่าใด เช่น 7 วัน 14 วัน 30 วัน 180 วัน 365 วัน เป็นต้น ควรซื้อให้ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ออกเดินทาง จนเดินทางกลับ
3. จากนั้นก็เลือกแผนความคุ้มครอง คุณสามารถเลือกได้ตามกำลังทรัพย์ แน่นอนว่าหากทรัพย์น้อยเงินคุ้มครองก็จะน้อยและความครอบคลุมในการคุ้มครองก็จะน้อยตาม
แผนการคุ้มครองคืออะไร อธิบายให้เข้าใจง่ายก็เหมือนการเลือกซื้อสินค้าที่มีหลายระดับ ยกตัวอย่างการซื้อรถ หากซื้อมอเตอร์ไซค์ ก็สามารถขับขี่ไปถึงที่หมายได้แต่อาจไม่ปลอดภัยและตัวเหล็กไม่สามารถครอบคลุมอวัยวะร่างกายส่วนใดได้เลย ในขณะที่รถตุ๊กๆ รถยนต์ที่มีถุงนิรภัยก็ให้ความครอบคลุมอวัยะในร่างกายต่างกัน แน่นอนว่ายิ่งคุ้มครองมากเบี้ยประกันก็จะแพงขึ้นตามไปด้วย
4. หากต้องการซื้อประกันการเดินทางจะซื้อได้ที่ไหนบ้าง
4. 1 เว็บไซต์เว็บขายประกัน
4. 2 บริษัทจัดจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
4.3 บริษัทจัดทัวร์ต่างประเทศ
4.4 ซื้อทางโทรศัพท์
ไม่ว่าจะซื้อที่ไหน หรืออย่างไรคุณไม่ควรละเลยข้อ 5
5.ก่อนซื้อคุณควรศึกษาแผนความคุ้มครองและความครอบคลุมของแต่ละบริษัทให้ละเอียดและให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ข้อสำคัญที่คุณควรศึกษา เช่น
5.1 อายุผู้เอาประกัน Aphrodite นำบริษัทประกัน 2 บริษัทมาเปรียบเทียบกัน หากเป็น ไทยวิวัฒน์ ในกรณีซื้อประกันราย
บุคคล อายุของผู้เอาประกัน จะต้อง มีอายุ 18 – 75 ปี แต่หากซื้อกับ Bupa อายุผู้เอาประกันจะเริ่มจาก 1 เดือน – 70 ปี แผนประกันของบางบริษัทก็มีให้เลือกแบบซื้อเป็นครอบครัว เป็นต้น และแผนประกันของบางบริษัทมีการให้ความคุ้มครองเรื่องการทำฟัน เรื่องการไม่จำกัดอายุของผู้ทำประกัน แน่นอนว่า คุณต้องจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มเข้ามาเหล่านี้
5.2 การสำรองจ่ายไปก่อน ในกรณีเจ็บป่วยไม่สาหัส การสำรองจ่ายไปก่อนคงไม่ถือเป็นปัญหาสำหรับหลายคน อย่างไรก็ดี
หากคุณคิดว่าไม่สามารถสำรองจ่ายไปก่อนได้คุณควรสอบถามบริษัทประกันว่าแผนประกันที่คุณจะซื้อนั้น คุณต้องสำรองจ่ายไปก่อนหรือไม่ เพราะบริษัทประกันบางบริษัทก็มีเงื่อนไขว่า
หากคุณทำการแจ้งบริษัทประกันล่วงหน้าว่าจะไปหาหมอหรือเข้ารับการรักษาในกรณีเจ็บป่วยระหว่างการเดินทางหรือพำนักในต่างประเทศ(ไม่ใช่การรักษาโรคประจำตัวที่เตรียมการมารับการรักษาล่วงหน้า )บริษัทประกันก็จะทำการติดต่อกับสถานพยาบาลและสามารถให้คุณเข้ารับการรักษาโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าได้ ส่วนใหญ่ผู้เอาประกันมักละเลยเงื่อนไขที่ต้องแจ้งล่วงหน้า หรือการกรอกเอกสารสำคัญทำให้เสียสิทธิประโยชน์ไป หากคุณคิดว่ามีความเป็นได้มาก ที่อาจเกิดความเจ็บป่วย คุณควรศึกษาข้อมูลส่วนนี้อย่างละเอียด โดยอาจตรวจสอบกับ Medical Practice ใกล้บ้านถึงรายละเอียดว่าสามารถกระทำได้หรือไม่ และแน่นอนว่าให้สอบถามกับบริษัทประกัน เช่น มีสาขาในยุโรปไหมหรือ มีโรงพยาบาลที่บริษัทประกันทำเครือข่ายไว้หรือไม่เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแจ้งล่วงหน้า และมีตัวแทนที่พูดภาษาไทยได้เป็นล่ามให้หรือไม่ เป็นต้น นี่คือข้อความตัวอย่างที่ Aphrodite ไปค้นคว้ามาจาก Internet เกี่ยวกับเงื่อนไขเบื้องต้นทั่วไปของบริษทประกัน
ข้อสำคัญ :

•  กรมธรรม์ประกันภัยนี้สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีอายุ 1 เดือน ถึง 70 ปี เท่านั้น

•  ผู้เอาประกันภัย ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี จะต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองระหว่างการเดินทาง

•  ผู้เอาประกันภัยจะต้องออกเดินทางจากประเทศไทย และจะต้องกลับเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น

•  เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ทางบริษัทขอแนะนำให้ท่านศึกษาคู่มือ ข้อยกเว้น รวมถึงเอกสารต่างๆ ให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์

•  กรมธรรม์ประกันภัยนี้ จะออกให้สำหรับผู้ที่มีที่อยู่ปัจจุบัน ในประเทศไทยเท่านั้น

•  ผู้ได้รับความคุ้ม ครองจะต้องสำรองเงินจ่ายสำหรับค่ารักษาพยาบาลไปก่อนในแต่ละครั้ง และส่งเอกสารตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ มายังบริษัทฯ เพื่อเบิกค่าสินไหมทดแทนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาล หรือ กลับมาถึงประเทศไทย แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะถึงก่อน


Description: https:src=

 ข้อยกเว้นหลักในกรมธรรม์นี้คือ :
อยกเว้นความคุ้มครองของโรคหรือการบาดเจ็บที่เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
อาการกำเริบของโรคที่เป็นก่อนทำประกัน


การคลอดบุตร การรักษาพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์


การทำร้ายตนเอง การเสพยาเสพติด


การใช้ยาซึ่งไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์


กีฬาเสี่ยงภัย เช่นกีฬาฤดูหนาว ดำน้ำ บันจี้จั๊มพ์


การรักษาฟัน
6. หากยิ่งเดินทางไกลจากประเทศที่คุณอาศัยมากเท่าไร ก็ควรซื้อแผนและระยะเวลาที่คุ้มครองให้ครอบคลุม เช่น หากเดินทาง 21 วัน แต่แผนประกันคุ้มครองเพียง 20 วัน คุณก็อาจซื้อ 1 วัน เพิ่มต่างหาก เป็นต้น
ในตอนท้ายบทความ Aphrodite ได้นำลิงก์ของบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือและมีความคุ้มครองที่ถือว่าคุ้มแก่คุณ มานำเสนอ อย่างไรก็ดี Aphrodite ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับบริษัทประกันเหล่านั้น เพียงแค่ต้องการช่วยร่นเวลาให้คุณเท่านั้น ดังนั้นคุณควรเลือกและศึกษาข้อมูล
และนำมาเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของบริษัทแผนความคุ้มครอง ให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
หมายเหตุ เรียงตามลำดับตัวอักษรในภาษาไทยไม่เกี่ยวกับแผนประกันหรือความเชื่อถือของบริษัทค่ะ
หากต้องการคลิกดูเว็บไซต์ของบริษัทประกัน ให้ copy ลิงก์ไปเปิดในหน้าใหม่ new tab ค่ะ
กรุงเทพประกันภัย
http://www.bangkokinsurance.com/insurance/comprehensive-travel-accident-insurance-pub-page01_th.html
บูพา  Bupa
http://www.bupa.co.th/travel/th/home.aspx
ไทยวิวัฒน์
http://www.thaivivat.co.th/products_travel.php
เมื่อคุณตัดสินใจเลือกบริษัท เลือกแผนประกันและทำการชำระเงินแล้ว คุณจะได้รับบัตรประจำตัวผู้ทำประกัน คุณควรเก็บรักษาบัตรนั้นและกรมธรรม์ไว้และนำติดตัวไปต่างประเทศด้วยตลอดการเดินทางและการพำนักของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง
การติดต่อขอ European Health Insurance Card สำหรับคู่สมรสชาวบริติชหรือประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจยุโรป EU

Comments

Popular posts from this blog

ตัวอย่างแผนการเดินทางท่องเที่ยวอังกฤษและประเทศในสหราชอาณาจักร Trip Itinerary

ตัวอย่างแผนการเดินทางอังกฤษและประเทศในสหราชอาณาจักร Itinerary และดาวน์โหลดฟรี   โดย Aphrodite แผนการเดินทางท่องเที่ยวหรือ Itinerary นั้นครอบคลุมเอกสารต่อไปนี้ 1. B ookings or tickets for any excursions, trips and outings ใบจอง ตั๋ว ทัศนาจร การเดินทางระยะยาวและการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น การเดินทางระยะยาวและแบบวันเดียว 2. E- mail conversations about any excursions, trips and outings อีเมลที่แสดงถึงการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น การเดินทางระยะยาวและแบบวันเดียว 3. T ravel agent bookings ใบจองการเดินทางจากตัวแทนบริษัทจัดทัวร์ (หากไปกับทัวร์) ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองหรือเพื่อนนำเที่ยว ควรมีการเขียนแผนการเดินทาง Trip Itinerary   อย่างคร่าวๆ เอาไว้ด้วย นอกจากนั้น การเขียนแผนการเดินทางท่องเที่ยวนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแต่อย่างใด คุณสามารถออกแบบเองได้ วันนี้ Aphrodite ออกแบบแผนการเดินทางท่องเที่ยวสถานที่ที่น่าสนใจในลอนดอนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง คุณสามารถ Copy รายละเอียดไปจากบล้อก หรือหากต้องการดาวน์โหลดตัวอย่างก็สามารถคลิกที่ลิงก์ข้างล่างได้ 

Free Thai - English Translation ประโยคนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า

บล้อกนี้ เป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนประโยคภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษค่ะ   โดย Aphrodite เริ่มกันที่ประโยคว่า ฉันจะพาแม่ไปหาหมอ ภาษาพูด/เขียนแบบทั่วไป หากต้องการพูดหรือเขียนข้อความสั้นๆ เช่น SMS หรือ จดหมายส่วนตัวถึงเพื่อน หรือคนสนิท สามารถพูดหรือเขียนได้ว่า I'm taking my mum to see a doctor. หรือ ใน UK อาจพูดว่า I’m taking my mum to see a GP . ภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ หากต้องการเขียนอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย หรือการกรอกวีซ่าออนไลน์ สามารถเขียนได้ว่า I would like to take my mother to the UK for private medical treatment. ในกรณีที่ต้องการพาคุณแม่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชนในสหราชอาณาจักร หากใครติดขัด หรือไม่มั่นใจ ว่าจะสื่อสารประโยคภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร สามารถ นำมาถามไว้ที่นี่ได้ โดยไม่มีค่าบริการค่ะ Aphrodite

The Royal Wedding คำสาบานตนของเคท - เจ้าชายวิลเลียม Full Solemnization of Marriage William and Kate

คำสาบานตนในพิธีอภิเษกสมรสของเคท  Full Solemnization of Marriage between Kate (Catherine Elizabeth Middleton and Prince william) ทั้งสองกล่าวขอบคุณประชาชนที่ให้ความสำคัญและติดตามข่าวมาตั้งแต่การประกาศการหมั้นลงในหมายกำหนดการพิธิอภิเษกหน้าแรก Details of the order of service for the royal wedding and the wording used in the marriage ceremony have been released ahead of the big day. คำกล่าวสาบานตนของเจ้าชายวิลเลียมและเคทได้รับการพิมพ์ไว้ในหน้าหนึ่งของหนังสือหมายกำหนดการของงานออกมาล่วงหน้าหนึ่งวันก่อนวันอภิเษกสมรส Kate Middleton will follow in the footsteps of Diana, Princess of Wales, by not promising to "obey" Prince William. เคท มิดเดิลทันเดินตามรอยเท้าของเจ้าหญิงไดอาน่า เพราะจะไม่กล่าวคำว่าจะ เชื่อฟัง เจ้าชายวิลเลียม Here is the full Solemnization of Marriage conducted by the Archbishop of Canterbury. ต่อไปนี้คือบทสาบานตนในพิธีอภิเษกสมรสของทั้งสอง โดยมีอาร์ชบิชอพแห่งแคนเทอเบอรีเป็นผู้นำพิธี (สำหรับผู้ไม่ทราบ อาร์ชบิช็อพแห่งแคนเทอเบอรีเปรียบได้กับสมเด็จพระสังฆราช